วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ทั้งการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด

ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา 
ทั้งการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด !

รายชื่อสมาชิกกลุ่มที่  2

                       1. นายพลภัทร   นามอญ              เลขที่  2
                                                 
                       2. นายธีรวัฒน์    เหรียญอารีย์       เลขที่  10

                       3. นางสาวกมลชนก  กลิ่นศิริ        เลขที่  19

                       4. นางสาวพัชรวรรณ  พันธวิไล    เลขที่  27

                       5. นางสาวมัณฑนา   การสง่า       เลขที่  35

                       6. นางสาวธัญญารัตน์  โต้สาลี     เลขที่  42 

                                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/4



การเกิดแผ่นดินไหว 
     
        แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
          แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่าง    รอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
          ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดินไหว"


สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
    
       เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

รอยเลื่อน

       รอยเลื่อน คือ บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการเลื่อนเทียบกับอีกแผ่นที่อยู่ติดกัน  บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่เลื่อนเข้าหากันมักมีแรงกดดันสูง จนกระทั่งเกิดการเลื่อนจากกันไปหลายฟุตพร้อมกับเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้น
ตัวอย่างเช่น 13 รอยเลื่อน ในประเทศไทย   ประกอบด้วย


1. "รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง" ครอบคลุม พื้นที่ จ.เชียงราย และเชียงใหม่
2. "รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน" ครอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอน และตาก
3. "รอยเลื่อนเมย" ครอบคลุม จ.ตาก และกำแพงเพชร
 4. "รอยเลื่อนแม่ทา" ครอบคลุม จ.เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย
5. "รอยเลื่อนเถิน" ครอบคลุม จ.ลำปาง และแพร่
6. "รอยเลื่อนพะเยา" ครอบคลุม จ. ลำปาง เชียงราย และพะเยา
7. "รอยเลื่อนปัว" ครอบคลุม จ.น่าน
8. "รอยเลื่อนอุตรดิตถ์" ครอบคลุม จ.อุตรดิตถ์
9. "รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์" ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และราชบุรี
 10. "รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์" ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และอุทัยธานี
11. "รอยเลื่อนท่าแขก" ครอบคลุม จ.หนองคาย และนครพนม
12. "รอยเลื่อนระนอง" ครอบคลุม จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา และ
13. "รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย" ครอบคลุม จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา
 

คลื่นซึนามิ
      แผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกชนกันอาจก่อให้เกิดคลื่นซึนามิ (Tsunami) โดยคลื่นซึนามินี้อาจสร้างความเสียหายมากกว่าแผ่นดินไหวโดยตรง ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่มลรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา บริเวณอ่าวปรินซ์วิลเลียมซาวนด์ (Prince William Sound) เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ปรากฏว่า มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวโดยตรง ๑๕ คน แต่มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นซึนามิถึง ๑๑๐ คน



แหล่งอ้างอิง

    http://www.waddeeja.com/ 
    http://th.wikipedia.org/wiki
    http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=1927.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น