วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ทั้งการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด

ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา 
ทั้งการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด !

รายชื่อสมาชิกกลุ่มที่  2

                       1. นายพลภัทร   นามอญ              เลขที่  2
                                                 
                       2. นายธีรวัฒน์    เหรียญอารีย์       เลขที่  10

                       3. นางสาวกมลชนก  กลิ่นศิริ        เลขที่  19

                       4. นางสาวพัชรวรรณ  พันธวิไล    เลขที่  27

                       5. นางสาวมัณฑนา   การสง่า       เลขที่  35

                       6. นางสาวธัญญารัตน์  โต้สาลี     เลขที่  42 

                                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/4



การเกิดแผ่นดินไหว 
     
        แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
          แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่าง    รอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
          ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดินไหว"


สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
    
       เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

รอยเลื่อน

       รอยเลื่อน คือ บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการเลื่อนเทียบกับอีกแผ่นที่อยู่ติดกัน  บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่เลื่อนเข้าหากันมักมีแรงกดดันสูง จนกระทั่งเกิดการเลื่อนจากกันไปหลายฟุตพร้อมกับเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้น
ตัวอย่างเช่น 13 รอยเลื่อน ในประเทศไทย   ประกอบด้วย


1. "รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง" ครอบคลุม พื้นที่ จ.เชียงราย และเชียงใหม่
2. "รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน" ครอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอน และตาก
3. "รอยเลื่อนเมย" ครอบคลุม จ.ตาก และกำแพงเพชร
 4. "รอยเลื่อนแม่ทา" ครอบคลุม จ.เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย
5. "รอยเลื่อนเถิน" ครอบคลุม จ.ลำปาง และแพร่
6. "รอยเลื่อนพะเยา" ครอบคลุม จ. ลำปาง เชียงราย และพะเยา
7. "รอยเลื่อนปัว" ครอบคลุม จ.น่าน
8. "รอยเลื่อนอุตรดิตถ์" ครอบคลุม จ.อุตรดิตถ์
9. "รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์" ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และราชบุรี
 10. "รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์" ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และอุทัยธานี
11. "รอยเลื่อนท่าแขก" ครอบคลุม จ.หนองคาย และนครพนม
12. "รอยเลื่อนระนอง" ครอบคลุม จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา และ
13. "รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย" ครอบคลุม จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา
 

คลื่นซึนามิ
      แผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกชนกันอาจก่อให้เกิดคลื่นซึนามิ (Tsunami) โดยคลื่นซึนามินี้อาจสร้างความเสียหายมากกว่าแผ่นดินไหวโดยตรง ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่มลรัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา บริเวณอ่าวปรินซ์วิลเลียมซาวนด์ (Prince William Sound) เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ปรากฏว่า มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวโดยตรง ๑๕ คน แต่มีผู้เสียชีวิตจากคลื่นซึนามิถึง ๑๑๐ คน



แหล่งอ้างอิง

    http://www.waddeeja.com/ 
    http://th.wikipedia.org/wiki
    http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=1927.0

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเกิดภูเขาไฟระเบิด

ภัยจากภูเขาไฟระเบิดเป็นอีกมหันตภัยหนึ่งที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ  ภูเขาไฟพบเห็นอยู่ในทุกภูมิภาคของโลกแม้แต่ในประเทศไทยก็มีภูเขาไฟอยู่หลายลูกกระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ  ภัยจากภูเขาไฟสำหรับคนไทยแล้วอาจจะดูห่างไกลกว่าภัยธรรมชาติชนิดอื่น แต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงเสียทีเดียว นอกจากความน่าสะพรึงกลัวจากภัยภูเขาไฟแล้วภูเขาไฟบางแห่งก็มีทัศนียภาพที่สวยงามตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คงจะหนีไม่พ้นภูเขาฟูจิที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว แต่ความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ลึกลงไปภายใต้แผ่นดินความสวยงามอาจกลายเป็นภัยที่สามารถเผาผลาญชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชได้ในพริบตาเดียว


 
ภูเขาไฟฟูจิ
รูปจาก http://www.asiavacation.com/

                  ปัจจุบันยังคงเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดเกิดขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ละครั้งความเสียหายของผู้เสียชีวิตอยู่ที่หลักหมื่น ในแง่ของการสูญเสียประชากรอาจจะไม่รุนแรงเท่าภัยธรรมชาติชนิดอื่นแต่ในเชิงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์แล้วภัยธรรมชาติชนิดนี้ต้องถือว่าเป็นภัยที่น่าตระหนกอย่างยิ่ง

                  อินโดนีเซียประเทศเพื่อนบ้านของเราที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกาะแก่งมากมายเคยเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดครั้งรุนแรงมาแล้วอย่างน้อยสามครั้ง

เมื่อราว 7 หมื่น5พันปีมีมาแล้วภูเขาไฟโทบา บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเกิดระเบิดขึ้นทำให้มีเศษหินและขี้เถ้าขนาดยักษ์แผ่ปกคลุมโลกและบดบังดวงอาทิตย์ จนมีข้อสันนิษฐานตามมาว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเกิดยุคน้ำแข็งยุคใหม่ของโลกขึ้น

                  ปี ค.ศ.1815 ภูเขาไฟแทมโบล่า(Tambora) ในประเทศอินโดนีเซียเกิดระเบิดขึ้น การระเบิดในครั้งนั้นทำให้แผ่นดินสั่นสะเทือนและส่งเสียงกึกก้องดังไปไกลกว่า 850 กิโลเมตร การระเบิดในครั้งนั้นทำให้เกิดเศษธุลีและผงฝุ่นมหาศาลแผ่ปกคลุมโลกจนกระทั่งโลกในปีนั้นไม่มีฤดูร้อน หลังจากอีกกว่า 150 ปีต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการระเบิดของแทมโบล่าเป็นการระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงที่สุดในรอบหมื่นปี แม้แต่การระเบิดของภูเขาไฟ วิสุเวียส  (visuvius)ที่เกิดเป็นลาวาไหลท่วมทับคนทั้งเป็น ในอิตาลี หรือแม้กระทั่งการระเบิดของภูเขาไฟบนเกาะการากา (krakatoa) ประเทศอินโดนีเซียในปี 1883 ที่ทำให้เกิดเสียงกึกก้องดังไปถึง 4,828 กิโลเมตร( 3 พันไมล์) เกิดคลื่นสึนามิสูงประมาณ 100 ฟุต และทำให้ประชากรเสียชีวิตมากกว่า 3.5 หมื่นก็ยังไม่สามารถนำไปเทียบเคียงกับความรุนแรงของการระเบิดของภูเขาไฟแทมโบล่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการระเบิดของภูเขาไฟแทมโบล่ามีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณูที่อเมริกาทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ในคราวสงครามโลกครั้งที่สองถึง 60,000 ลูกเมื่อมีการระเบิดพร้อมกัน นั้นคือความน่าสะพรึงกลัวของภัยภูเขาไฟระเบิด

 
แนวภูเขาไฟในประเทศอินโดนีเซีย
รูปจากhttp://vulcan.wr.usgs.gov



สาเหตุการเกิดภูเขาไฟ และประเภทของภูเขาไฟ

                  เนื่องจากเปลือกโลกชั้นนอกของโลกเรามีพื้นที่ไม่เรียบเสมอกันเปลือกโลกชั้นในมีลักษณะเป็นหินเมื่อได้รับความร้อนที่แผ่ออกมาจากแก่นโลกทำให้กลายเป็นหินเหลวหนืดที่เรียกว่าแมกมา(หินหนืดที่อยู่ภายใต้แผ่นเปลือกโลกจะถูกเรียกว่าแมกมาเมื่อมีการดันตัวมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลกจะถูกเรียกว่าลาวา) และเมื่อได้รับความร้อนจากแก่นโลกมากเข้าก็จะไหลวนเวียนเฉกเช่นเดียวกับน้ำในกาต้มน้ำร้อนที่วิ่งไปรอบกาน้ำพร้อมกับส่งควันพวยพุ่งออกมาตามช่องระบายภูเขาไฟก็เช่นกันและในที่สุดก็พุ่งทะลักออกมาตามรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก

                 โดยทั่วไปแล้วการเกิดภูเขาไฟประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกมาเกยกันหรือที่เรียกตามศัพท์ทางวิชาการว่า subduction zone เปลือกโลกของเราเป็นชั้นหินที่มีความแข็ง มีความหนาประมาณ 40-60 กิโลเมตร ผิวโลกมีลักษณะเป็นแผ่นไม่ได้รวมเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งโลก เปลือกโลกถูกแบ่งออกตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ได้เป็น 2 ประเภท Oceanic plate คือแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรกับ Continental plate หรือแผ่นทวีป ซึ่งปรากฏอยู่ตามส่วนที่เป็นพื้นดิน   ดังนั้นเมื่อได้รับความร้อนจากแก่นโลกก็จะทำให้แผ่นโลกเกิดการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาโดยกะประมาณว่าแผ่นโลกของเราจะมีการเคลื่อนที่ประมาณ 10 เซนติเมตรต่อปี และเมื่อแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่ชนกันก็จะทำให้แผ่นโลกแผ่นหนึ่งมุดลงใต้แผ่นโลกอีกแผ่นหนึ่ง  แผ่นที่มุดต่ำลงจะเข้าสู่ชั้นเปลือกโลกที่มีความร้อนสูงดังนั้นเกิดเป็นพลังงานความร้อนที่พยายามดันตัวออกมาสู่ภายนอก ลักษณะของการเกยกันของแผ่นเปลือกโลกนี้เองที่เราเรียกว่า subduction zone ภูเขาไฟมักจะเกิดตามแนว subduction zoneนี้

 

ภาพการเกิดภูเขาไฟระเบิดตามแนว subduction zone
ภาพจาก http://whyfiles.org/

                  ส่วนอีก 5 เปอร์เซ็นต์ของการเกิดเป็นภูเขาไฟระเบิดจะไม่เกิดตามแนวรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกแต่จะเกิดในพื้นที่ช่วงกลางแผ่นเปลือกโลก ปรากฏการณ์เช่นนี้ จะเกิดโดยมีการสะสมของแมกมาจำนวนมากใต้แผ่นเปลือกโลกเมื่อมีจำนวนแมกมาจำนวนมากก็จะเกิดแรงดันจำนวนมหาศาลทำให้แมกมาไหลท่วมออกมาจนสามารถทำให้แผ่นเปลือกโลกขยับได้ นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า mantle plume หรือ hot อย่างเช่นการเกิดภูเขาไฟในหมู่เกาะฮาวาย

 

การเกิดภูเขาไฟระเบิดแบบ hotspot
ภาพจาก http://www.cotf.edu/

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบเรื่องปรากฎการทางธรณีวิทยา ทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ

1. บริเวณบนผิวโลกที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยมากที่สุดได้แก่
ก. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์กับภูเขาหิมาลัย
ข. บริเวณวงแหวนแห่งไฟ
ค. บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
ง. บริเวณใจกลางแผ่นยูราเซียน (
Eurasian plate)

2. ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่นักเรียนอยู่บนอาคารสูง ควรปฏิบัติตนอย่างไร
ก. รีบวิ่งลงบันได
ข. รีบลงชั้นล่างโดยใช้ลิฟต์
ค. มุดเข้าใต้โต๊ะภายในอาคาร
ง. ไปที่หน้าต่าง เพื่อขอความช่วยเหลือ


3. ประเทศไทยจะได้รับผลจากแผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการกระทบกันของแผ่นธรณีภาคคู่ใดมากที่สุด
ก. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นแปซิฟิก
ข. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย-อินเดีย
ค. แผ่นแปซิฟิกกับแผ่นนาสกา
ง. แผ่นแอนตาร์กติกกับแผ่นออสเตรเลีย- อินเดีย

4. มาตราที่ใช้วัดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว คือข้อใด
ก. ริกเตอร์
ข. เมอร์แคลลี
ค. โมลด์
ง.  เวอร์นเวิร์ด

5. แนวการเกิดแผ่นดินไหวของโลกในข้อใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด
ก. แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย

ข. แนวแถบหมู่เกาะอันดามัน
ค. แนวล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก
ง. แนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

6. เครื่องบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวมีชื่อเรียกว่าอะไร
ก. ไซสโมกราฟ
ข. บารอมิเตอร์
ค. สเฟียร์โรมิเตอร์

ง. ไกเกอร์ มูเลอร์ เคาเตอร์


7. อัตราเร็วในการแผ่ของคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นอยู่กับอะไร ก. ความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของตัวกลาง ข. ความหนาและความหนืดของตัวกลาง
 ค. อุณหภูมิและความลึกของตัวกลาง ง. มวลและอุณหภูมิของตัวกลาง

8. เหตุใดจึงต้องมีการกำหนดขนาดของแผ่นดินไหว
ก. เพื่อตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้า

ข. เพื่อทราบถึงศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว
ค. เพื่อทราบผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
ง. เพื่อป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว

9. จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) คืออะไร
ก. จุดที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวแต่อยู่ในชั้นเนื้อโลก
(Mantle)

ข. จุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว
ค. จุดในอากาศที่อยู่เหนือการเกิดแผ่นดินไหว

ง. จุดล่างสุดของชั้นเปลือกโลก (Crust) ที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว

10. ริกเตอร์ (Richter) เป็นหน่วยวัดปริมาณใด

ก. ความรุนแรงของการชนกันของแผ่นธรณีภาค
ข. ความรุนแรงของการระเบิดของภูเขาไฟ

ค. ความรุนแรงของการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ
ง. ความรุนแรงของแผ่นดินไหว

11. การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งที่เกิดความเสียหายมากจะเป็นบริเวณใด
ก. ตามผิวโลก
ข. บริเวณใกล้จุดศูนย์
ค. บริเวณจุดศูนย์กลางโลก
ง. บริเวณที่เหนือจุดศูนย์หรือจุดกำเนิดผิว


12. คาบอุบัติซ้ำมีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ระยะเวลาของการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละครั้ง
ข. รอบเวลาของการเกิดแผ่นดินไหว
   บริเวณหนึ่งๆ
ค. บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นประจำ
ง. การเกิดแผ่นดินไหวหลังภูเขาไฟระเบิด


13. แผ่นดินไหวขนาด 6 ริคเตอร์ทำให้เกิด
ก. อาคารสิ่งก่อสร้างโดยมากเสียหาย สะพานพังทลาย
ข. อาคารที่มีการออกแบบและโครงสร้างที่ไม่ดีเสียหาย กำแพงพังล้ม

ค. ทุกสิ่งทุกอย่างเสียหายวัตถุทุกอย่างกระเด็นปลิวว่อนในอากาศ
ง. ต้นไม้โอนเอน เครื่องประดับบ้านเคลื่อนที่ได้ สิ่งก่อสร้างเสียหายเล็กน้อย


จัดทำโดยนายพลภัทร  นามอญ  เลขที่  2

14. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
ก. เกิดจากเปลือกโลกขยายตัวไม่สม่ำเสมอ เพราะความร้อนจากแก่นโลก
ข. เปลือกโลกเกิดการทรุดตัวหรือยุบตัว
ค. เปลือกโลกเกิดการกระทบกระแทกเคลื่อนที่ชนหรือแยกตัวออกจากกันได้
ง. แผ่นเปลือกโลกส่วนบนขยายตัวได้มากกว่าแผ่นเปลือกโลกส่วนล่าง

15. ข้อใดเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
ก. ผิวโลกมีอุณหภูมิสูงกว่าแก่นโลก

ข. เปลือกโลกมีการขยายตัวไม่สม่ำเสมอค. ความร้อนจากแก่นโลกทำให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ช้า ๆ
ง. ถูกทุกข้อ


16.  ข้อใดกล่าวผิด
ก. แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนอกประเทศทำให้ประเทศไทยเกิดแผ่นดินไหวได้
ข. มาตราวัดความรุนแรงแผ่นดินไหวกำหนดด้วยเลขโรมันมี
12 ระดับ
ค. หลังเกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาเสมอ
ง. เครื่องตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวคือไซโมกราฟ


17. ข้อความใดถูกต้อง
ก. ประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมา
ข. เราสามารถตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้
ค. การศึกษารอยเลื่อนทำให้ทราบศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว

ง. ทุกครั้งที่มีการเกิดแผ่นดินไหวมักจะมีภูเขาไฟระเบิดตามมาเสมอ

18. ในอดีตที่ผ่านมาประเทศใดต่อไปนี้ที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงมีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมากที่สุด
ก. อินเดีย
ข. อังกฤษ
ค. ออสเตรลีย

ง. อินโดนีเซีย

19.แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร
ก.การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก             
ข.การระเบิดของภูเขาไฟ
ค.การทดลองระเบิดปรมานูใต้ดิน         
ง.ถูกทุกข้อ            

20.คำกล่าวในข้อใดถูกต้อง
ก.จุดเคลื่อนที่ตรงกับคลื่นหักเหมาถึงพร้อมกัน  จะแสดงความลึกของรอยต่อของชั้นเปลือกโลก
ข.คลื่นเฉือนไม่ผ่านแก่นโลกชั้นนอก
ค.คลื่นในตัวกลางเป็นคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิ
ง.ถูกทุกข้อ                                                            

21.คำกล่าวในข้อใดถูกต้อง  เมื่อแผ่นโลกด้านหนึ่งของรอยแตกเลื่อนไปทับอีกข้างหนึ่ง  เรียกว่าอะไร
ก.รอยเลื่อนย้อนกลับ                       
ข.รอยเลื่อนปกติ
ค.รอยเลื่อนแนวราบ                        
ง.รอยเลื่อนโมโฮ   

22.ผลจากแผ่นดินไหวทำให้เกิด
ก.เกิดแผ่นดินเลื่อน                         
ข.เกิดรอยเลื่อน
ค.เกิดรอยแตกบนพื้นดิน                  
ง.ถูกทุกข้อ       

23.การประทุของผู้เขาไฟ  เกิดจากการไหลออกของแมกมามาตามรอยแตกหรือปล่องด้านข้างของภูเขาไฟ  เป็นชนิด
ก.สตรอมโบเลียน                           
ข.ชนิดโวลแคเนียน
ค.ชนิดฮาวายเอียน                         
ง.ชนิดพีเลียน   

24.การระเบิดของภูเขาไฟทำให้เกิด
ก.การปรับของระดับเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล
ข.หินแปรมีความแข็งแกร่งขึ้น
ค.บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิต่ำลง
ง.ถูกทุกข้อ 

25.การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง  บริเวณที่เสียหายมากจะเป็น
ก.ตามผิวโลก                           
ข.บริเวณใกล้จุดศูนย์
ค.บริเวณที่เหนือจุดศูนย์หรือจุดกำเนิดผิว      
ง.บริเวณจุดศูนย์กลางโลก 

26.ภูเขาไฟเกิดจากอะไร
ก.ลาวาและชั้นหินภูเขาไฟ                               
ข.จาการยกตัวขึ้นของทวีป
ค.จากการเย็นของหินหนืดที่ใต้ผิวโลก และเย็นตัวก่อนออกมาสู่ผิวโลก    
ง.ไม่มีข้อถูกต้อง

จัดทำโดยนายธีระวัฒน์  เหรียญอารีย์  เลขที่ 10
27.บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟมากที่สุดคือบริเวณใด
ก.แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก                         
ข.บริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก
ค.บริเวณที่มีการชนกันของแผ่นเปลือกโลก                 
ง.บริเวณที่มีการแยกห่างจากกันของแผ่นเปลือกโลก

28.คำกล่าวข้อใดถูกต้อง
ก.คาบอุบัติซ้ำ หมายถึงระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้นแล้วกลับมาเกิดซ้ำในที่เดิมอีก
ข.คาบอุบัติว้ำเกิดจากชั้นหินแกรนิตเคลื่อนที่จากบริเวณรอยเลื่อน
ค.คาบอุบัติซ้ำไม่สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้
ง.คาบอุบัติซ้ำมีระยะเวลาสั้น ๆ               

29.รอยเลื่อนมีพลังเกิดจากอะไร
ก.แนวรอยเลื่อนบนเปลือกโลกที่ยังสามารถเคลื่อนที่ได้
ข.การระเบิดของภูเขาไฟ
ค.แผ่นดินไหวระดับลึก
ง.แผ่นดินไหวใกล้จุดศูนย์         

30.บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจะเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติในข้อใดมากที่สุด
ก.ภูเขาไฟระเบิด                             
ข.แผ่นดินไหว
ค.แผ่นดินถล่ม                                
ง.ภูเขาทรุด    

31.ข้อใดไม่ใช่ก๊าซที่ได้มาพร้อม ๆ กับภูเขาไฟระเบิด
ก.ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์                                  
ข.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ค.ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์                                
ง.ก่ซไนโตรเจนไดออกไซด์ 

32.แผ่นเปลือกโลกมีหลายแผ่น ปัจจุบันทวีปอเมริกาและแผ่นแอฟริกาห่างกันมากเพราะเหตุใด
ก.หินหนืดดันตัวแทรกตามแผ่นเปลือกโลก                     
ข.ภูเขาไฟระเบิดในมหาสมุทร
ค.เกิดการโค้งตัวของแผ่นเปลือกโลก                             
ง.เกิดแผ่นดินไหวบ่อยมาก  

33.ก่อนและหลังเกิดภูเขาไฟระเบิดมักจะเกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติตามข้อใด
ก.แผ่นดินไหว                                                    
ข.พายุภูเขาไฟ
ค.พายุฟ้าคะนอง                                               
ง.คลื่นยักษ์ในมหาสมุทร         

34.แคลดีรา (Calderas) หมายถึงข้อใด
ก.แอ่งภูเขาไฟขนาดใหญ่รูปหมวก                               
ข.แอ่งภูเขาขนาดใหญ่รูปกระจาด
ค.แอ่งภูเขาไฟขนาดเล็กรูปหมวก                                 
ง.แอ่งภูเขาไฟขนาดเล็กรูปกระจาด   

35.ข้อใดคือภูเขาไฟที่เกิดขึ้นบนโลกอย่างถูกต้อง
ก.มีการประทุของหินหนืดจำนวนมาก
ข.มีการประทุของก๊าซต่างๆ จำนวนมาก
ค.มีการประทุของหินหนืดและก๊าซจำนวนมาก
ง.มีการประทุไอร้อนละน้ำจืดจำนวนมาก       

36.ภูเขาไฟยังดับไม่สนิทมีประโยชน์ในข้อใด
ก.ใช้ความร้อนจากภูเขาไฟในการหุงต้มอาหาร
ข.ดินมีความอุ่นจึงปลูกพืชได้ดีกว่า
ค.ส่วนที่แข็งแล้วจะมีแร่ที่มีค่ามากกว่าปกติ
ง.สามารถนำน้ำพุมาใช้เป็นพลังงานทดแทน 

37.แผ่นดินไหวความรุนแรง 7 หรือ 5.5 – 6.1 ขนาดมาตราริเตอร์จะตรงกับข้อใด
ก.ค่อนข้างแรง  กระจกแตก  ลูกตุ้มนาฬิกาหยุด
ข.แรง รูปหล่นจากผนัง ของบนหิ้งล่วง
ค.แรงมาก  ฝาผนังห้องเกิดรอยร้าว
ง.ทำลายเฟอร์นิเจอร์ใหญ่ๆพลิกคว่ำ                 

38. บริเวณที่อยู่เหนือชั้นหินหนืด หมายถึงข้อใด
ก.ธรณีภาค
ข.ฐานธรณีภาค
ค.แผ่นเปลือกโลก
ง.ธรณีภาคชั้นนอก
39. เมื่อพื้นแผ่นมหาสมุทรใหม่ก่อรูปขึ้น จะเกิดผลอย่างไรกับพื้นแผ่นมหาสมุทรเก่า
ก.พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่ารวมตัวกันเป็นแนวเทือกเขา
ข.พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่ารวมตัวกันเป็นบริเวณพื้นทวีป
ค.พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่าเคลื่อนตัวลงไปภายในโลก บริเวณร่องลึกก้นสมุทร เกิดการมุดตัวของเปลือกโลก
ง.พื้นแผ่นมหาสมุทรเก่ารวมตัวกันเป็นแนวภูเขาไฟกลางมหาสมุทร
จัดทำโดยนางสาวกมลชนก  กลิ่นศิริ  เลขที่ 19
40. ถ้าแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่แยกจากกันที่เทือกสันเขากลางมหาสมุทร จะเกิดผลตามข้อใด
ก.การขยายตัวของทวีป
ข.เกิดภูเขาไฟใต้มหาสมุทร
ค.เกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร
ง.เกิดการขยายตัวของมหาสมุทร
41. ส่วนที่เป็นธรณีภาค (Lithosphere) ได้แก่ บริเวณใด
ก.เปลือกโลกแสะส่วนบนของเนื้อโลก
ข.เปลือกโลกและเนื้อโลกทั้งหมด
ค.เปลือกโลก (Crust)
ง.เนื้อโลก (Mentle)
42. บริเวณบนผิวโลกที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยมากที่สุดได้แก่
ก.แนวรอยต่อภูเขาแอลป์กับภูเขาหิมาลัย
ข.บริเวณวงแหวนแห่งไฟ
ค.บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
ง.บริเวณใจกลางแผ่นยูราเซียน (Eurasian plate)
43. ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่นักเรียนอยู่บนอาคารสูง ควรปฏิบัติตนอย่างไร
ก.รีบวิ่งลงบันได
ข.รีบลงชั้นล่างโดยใช้ลิฟต์
ค.มุดเข้าใต้โต๊ะภายในอาคาร
ง.ไปที่หน้าต่าง เพื่อขอความช่วยเหลือ
44. บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก เช่น ประเทศไทย มีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิดหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก.มีโอกาส เพราะแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ตลอดเวลา
ข.ไม่มีโอกาส เพราะอยู่ห่างจากบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ
ค.ไม่มีโอกาส เพราะประเทศไทยไม่มีรอยแยกของชั้นหินอยู่เลย
ง.มีโอกาส เพราะหินหนืดมีโอกาสดันขึ้นมาตามรอยแตกของชั้นหินได้
45. ข้อใด ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ก.แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกัน
ข.แผ่นเปลือกโลกแผ่นเล็ก ๆ จะมีพื้นที่หายไป
ค.แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นอาจเกิดการกระแทกซึ่งกันและกัน
ง.แผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่จะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับทวีปเคลื่อนอย่างช้า ๆ
46. ประเทศไทยจะได้รับผลจากแผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการกระทบกันของแผ่นธรณีภาคคู่ใดมากที่สุด
ก.แผ่นยูเรเซียกับแผ่นแปซิฟิก
ข.แผ่นยูเรเซียกับแผ่นออสเตรเลีย-อินเดีย
ค.แผ่นแปซิฟิกกับแผ่นนาสกา
ง.แผ่นแอนตาร์กติกกับแผ่นออสเตรเลีย- อินเดีย
47. มาตราที่ใช้วัดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว คือข้อใด
ก.ริกเตอร์
ข.เมอร์แคลลี
ค.โมลด์
ง.เวอร์นเวิร์ด
48. แนวการเกิแผ่นดินไหวของโลกในข้อใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด
ก.แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย
ข.แนวแถบหมู่เกาะอันดามัน
ค.แนวล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก
ง.แนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก
49. เครื่องบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวมีชื่อเรียกว่าอะไร
ก.ไซสโมกราฟ
ข.บารอมิเตอร์
ค.สเฟียร์โรมิเตอร์
ง.ไกเกอร์ มูเลอร์ เคาเตอร์
50. อัตราเร็วในการแผ่ของคลื่นแผ่นดินไหวขึ้นอยู่กับอะไร
ก.ความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของตัวกลาง
ข.ค.ความหนาและความหนืดของตัวกลาง
ค.อุณหภูมิและความลึกของตัวกลาง
ง.มวลและอุณหภูมิของตัวกลาง
51. เหตุใดจึงต้องมีการกำหนดขนาดของแผ่นดินไหว
ก.เพื่อตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้า
ข.เพื่อทราบถึงศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหว
ค.เพื่อทราบผลกระทบหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
ง.เพื่อป้องกันการเกิดแผ่นดินไหว
52. จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) คืออะไร
ก.จุดที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวแต่อยู่ในชั้นเนื้อโลก (Mantle)
ข.จุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว
ค.จุดในอากาศที่อยู่เหนือการเกิดแผ่นดินไหว
ง.จุดล่างสุดของชั้นเปลือกโลก (Crust) ที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว
จัดทำโดยนางสาวพัชรวรรณ      พันธ์วิไล   เลขที่  27
53. ริกเตอร์ (Richter) เป็นหน่วยวัดปริมาณใด
ก.ความรุนแรงของการชนกันของแผ่นธรณีภาค
ข.ความรุนแรงของการระเบิดของภูเขาไฟ
ค.ความรุนแรงของการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ
ง.ความรุนแรงของแผ่นดินไหว
54. บริเวณบนผิวโลกที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยมากที่สุดได้แก่
ก.แนวรอยต่อภูเขาแอลป์กับภูเขาหิมาลัย
ข.บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก
ค.บริเวณวงแหวนแห่งไฟ
ง.บริเวณใจกลางแผ่นยุราเซียน (Eurasian plate)
55. พันเจีย (Pangaea) คืออะไร
ก.บริเวณวงแหวนแห่งไฟ
ข.แผ่นดินบนโลกทั้งหมดขณะที่ติดเป็นผืนเดียวกันหมด
ค.ใจกลางธรณีภาค
ง.บริเวณปากปล่องภูเขาไฟ
56. ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้หินหนืดในชั้นแมนเทิลไหลวนได้
. การหมุนรอบตัวเองของโลก
ข.พลังงานความร้อนจากแก่นโลก
ค.แรงดึงดูดของโลกและดวงจันทร์
ง. น้ำหนักของโลกและแรงโน้มถ่วงของโลก
57. การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในข้อใดที่ ไม่ มีอิทธิพลจากภายใต้ผิวโลก
ก.การกร่อน
ข.การเกิดภูเขา
ค.แผ่นดินไหว
ง.การระเบิดของภูเขาไฟ
58. ข้อใดกล่าวถึงเปลือกโลกที่ปกคลุมมหาสมุทรได้ถูกต้อง
ก.ประกอบด้วยหินแกรนิตเป็นส่วนใหญ่
ข.มีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกที่ปกคลุมทวีป
ค.มีอายุมากกว่าเปลือกโลกที่ปกคลุมทวีป
ง.คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ผ่านได้ช้ากว่าเปลือกโลกที่ปกคลุมทวีป
59.แนวการเกิดแผ่นดินไหวของโลกในข้อใด มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด
ก.แนวภูเขาแอลป์-หิมาลัย
ข.แนวแถบหมู่เกาะอันดามัน
ค.แนวล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก
ง.แนวสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก
60. เครื่องมือตรวจวัดการไหวสะเทือนของแผ่นดินไหว เรียกว่าอย่างไร
ก.โซนาร์
ข.เรดาร์
ค.ไซสโมกราฟ
ง.ไฮโกรมิเตอร์
61. การปะทุของภูเขาไฟแบบใดที่มีการระเบิดอย่างรุนแรง ในท้องฟ้าจะเต็มไปด้วยเถ้าถ่านและแก๊ส
ก.แบบพีเลียน
ข.แบบฮาวายเอียน
ค.แบบโวลแคเนียน
ง.แบบสตรอมโบเลียน
62. แผ่นเปลือกโลกใดมีขนาดใหญ่มากที่สุด
ก.แผ่นเปลือกโลกยูเรเชียน
ข.แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก
ค.แผ่นเปลือกโลกแอฟริกา
ง.แผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ
63. เมื่อแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคลื่อนที่ชนกันบริเวณขอบที่ชนกันจะเป็นอย่างไร
ก.ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะเปลือกโลกหยุดอยู่กับที่
ข.เปลือกโลกเกิดการซ้อนกันและโค้งงอขึ้นกลายเป็นภูเขา
ค.เปลือกโลก 2 ทวีปเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงจมลงใต้มหาสมุทร
ง.เกิดหลุมกว้างขนาดใหญ่กลายเป็นทะเลสาบและเกิดกระแสน้ำวนในเวลาต่อมา
64. ข้อใดไม่ได้อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า "วงแหวนแห่งไฟ (ring of fire)"
ก.บริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด
ข.บริเวณรอยต่อภูเขาแอลป์และภูเขาหิมาลัย
ค.ประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด
ง.บริเวณด้านตะวันตกของเม็กซิโก
65. ตามทฤษฎีการแปรสัญฐาน (Plate tectonics) ข้อใดอยู่ในทวีป "ลอเรเชีย"
ก.ทวีปแอฟริกา
ข.ทวีปอินเดีย
ค.ทวีปอเมริกาเหนือ
ง.ทวีปออสเตรเลีย
จัดทำโดยนางสาวมัณฑนา   การสง่า  เลขที่  35
66. อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม
1. แผ่นดินไหวหรือแผ่นดินถล่มใต้มหาสมุทร
2. การระเบิดของภูเขาไฟใต้มหาสมุทร
3. การทดลองระเบิดปรมาณูใต้มหาสมุทร

ก. 1 เท่านั้น
ข. 1 และ 2
ค. 1 และ 3
ง. 1 , 2 และ 3
67. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง
ก.ประเทศไทยอยู่บนแผ่นยูเรเชีย
ข.ประเทศอินเดียอยู่บนแผ่นออสเตรเลีย
ค.ประเทศอเมริกาอยู่บนแผ่นอเมริกาใต้
ง.ประเทศเอธิโอเปียอยู่บนแผ่นแอฟริกา
68. เครื่องมือข้อใดที่ใช้ศึกษาโครงสร้างของโลก
ก.ไซสโมกราฟ
ข.เมอร์คัลลีกราฟ
ค.คลื่นไหวสะเทือนที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น
ง.เครื่องมือวัดจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
69. การเกิดปรากฏการณ์ทางธรณีมักเกิดในบริเวณใดมากที่สุด
ก.รอยต่อของแผ่นธรณีภาคทุกแห่ง
ข.รอยต่อของแผ่นธรณีภาคที่ชนกัน
ค.รอยต่อของแผ่นธรณีภาคที่แยกจากกัน
ง.รอยต่อของแผ่นธรณีภาคที่สวนทางกัน
70. เทือกสันเขากลางมหาสมุทรเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรณีภาคแบบใด
ก.การเกิดแผ่นดินไหว
ข.การระเบิดของภูเขาไฟ
ค.การชนกันของแผ่นเปลือกโลก
ง.การแยกตัวของแผ่นเปลือกโลก
71. การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งที่เกิดความเสียหายมากจะเป็นบริเวณใด
ก.ตามผิวโลก
ข.บริเวณใกล้จุดศูนย์
ค.บริเวณจุดศูนย์กลางโลก
ง.บริเวณที่เหนือจุดศูนย์หรือจุดกำเนิดผิว
72. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงคลื่นสึนามิที่ถูกต้อง
ก.ความเร็วของคลื่นไม่ขึ้นอยู่กับความลึก
ข.เป็นคลื่นน้ำที่มีความยาวคลื่น 1,000 กิโลเมตร
ค.ปรากฏการณ์นี้มักเกิดบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น
ง.จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไปในมหาสมุทร
73. เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีก๊าซพ่นออกมา ก๊าซชนิดใดที่ไม่ได้เกิดจากภูเขาไฟระเบิด
ก.บิวเทน
ข.คาร์บอนมอนอกไซด์
ค.คาร์บอนไดออกไซด์
ง.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
74. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแมกมาและลาวา
ก.ลาวาเมื่อไหลสู่ผิวโลกเรียกว่า แมกมา
ข.แมกมาเมื่อไหลสู่ผิวโลกเรียกว่า ลาวา
ค.แมกมาและลาวามีส่วนประกอบแร่ธาตุต่างกัน
ง.แมกมาและลาวาเป็นหินหนืดที่ไหลพุ่งขึ้นสู่ผิวโลก
75.ข้อใดเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
ก. ผิวโลกมีอุณหภูมิสูงกว่าแก่นโลก
ข. เปลือกโลกมีการขยายตัวไม่สม่ำเสมอ

ค ความร้อนจากแก่นโลกทำให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ช้า ๆ
ง. ถูกทุกข้อ
76.ก่อนภูเขาไฟระเบิดมักจะเกิดแผ่นดินไหวเพราะเหตุใด
ก. เกิดคลื่นลมในทะเลที่มีแรงดันมาก
 
ข. หินหนืดที่มีแรงดันสูงเคลื่อนตัว
ค. การปรับตัวของหินหนืดกับชั้นหิน

ง. การขยายตัวของหินหนืดแต่ละชั้นต่างกัน
77.ประเทศไทยมีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิดน้อยมากเพราะเหตุใด
ก.อยู่ห่างจากศูนย์กลางของแผ่นเปลือกโลก
ข.อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก
ค. ไม่มีหินหนืดหลอมเหลวใต้แผ่นดินไทย
ง. ไม่มีรอยแยกของผืนแผ่นดินไทย
78. คลื่นใด ไม่ สามารถเคลื่อนที่ผ่านของเหลวภายใต้เปลือกโลก
ก.คลื่นพื้นผิว
ข.คลื่นปฐมภูมิ
ค.คลื่นทุติยภูมิ
ง.คลื่นตามยาว
79. ฐานธรณีภาค มีความหมายตรงตามข้อใด
ก.ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลก
ข.ชั้นเนื้อโลกส่วนล่างกับชั้นแก่นโลก
ค.ชั้นในเนื้อโลกทั้งหมด
ง.ชั้นเนื้อโลกที่เป็นของเหลว
80. ขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกมักจะมีอะไรเป็นเครื่องบ่งบอกให้ทราบได้
ก.หมู่เกาะน้อยใหญ่
ข.แนวภูเขาไฟและแนวแผ่นดินไหว
ค.เนินดินที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ
ง.ทะเลสาบที่มีความยาวเกิน 100 กิโลเมตร
จัดทำโดยนางสาวธัญญารัตน์  โต้สาลี  เลขที่  42


เฉลย
1.           2.             3.            4.             5.            6.           7.            8.           9.           
10.        11.           12.            13. ง        14.           15.           16.          17.         18.         
19.         20.           21.           22.        23.          24.          25. ข        26. ก          27.           
28. ก        29.         30.        31.         32.            33.         34.          35.           36.ง       
37.        38. ก          39.           40.          41.         42.         43.          44.           45.          
46.       47.          48.          49.         50.          51.        52. ข        53.            54.        
55.       56.          57.          58.        59.           60.         61.         62.          63.       
64.       65. ค         66.            67.          68.          69.        70.         71.            72.              
73.         74.           75.          76.          77.        78. ค          79.         80.


ที่มา :


http://www.yupparaj.ac.th/CAI/Science-Test/Astronomy/runtest.html
http://www.vajiravudh.ac.th/LearningZone/earthchanged/postest/answer2.htm